วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานเรื่อง สารปนเปื้อนในอาหาร

                          สารปนเปื้อนในอาหาร

        สารปนเปื้อนในอาหาร  เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์  ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้  สารปนเปื้อนในอาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภทคือ

           1.  สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้
1.1  สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์       เช่น        สารอะฟลาทอกซิน  (aflagoxin)           ซึ่งเป็นสารสร้างจากเชื้อราพวกแอสเพอร์จิลลัส  (aspergillus spp)  รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล้ดพืชที่ชื้น  ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถ
ทำลายสารอะฟลาทอกซินได้ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ

1.2  สารพิษจากเห็ดบางชิด  ทำให้เมา  มีอาการคลื่นไส้  และอาเจียน
1.3   สารพิษในพืชผัก       

                                                                  

        Untitled-14.jpg        จุนลินทรีย์.jpg     Untitled-12.jpg
                สีผสมอาหาร                                      เชื้อจุลินทรีย์                                ภาชนะบรรจุอาหาร



          2.  สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ส่วนให่เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ใน
ชีวิตประจำวัน  มีดังนี้

 2.1  สารตกค้างจากการเกษตร  เช่น  ดีดีที  ปุ๋ย  ยาปราบศัตรูพืช  ซึ่งอาจสะสมในอาหาร  เมื่อรับประทาน
เข้าไปจะเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต




       Untitled-10.jpg                   Untitled-14.jpg
       ยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช                                               เชื้อรา


2.2  สิ่งเจือปนในอาหาร  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
                1.  สารกันอาหารเสีย  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ  รส  กลิ่น  เหมือนเมื่อแรกผลิตและเก็บไว้
ได้นาน  เช่น  สารกันบูด  สารกันหืด  เป็นต้น

                 2.สารแต่งกลิ่นหรือรส  เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกใจผู้บริโภค  หรือใช้แต่งกลิ่นรส
ผู้บริโภคเข้าใจคิดผิดว่าเป็นของแท้ หรือมีส่วนผสมอยู่มากหรือน้อยทั้งที่เป็นของเทียน สารเหล่านี้ได้แก่
   


           Untitled-11.jpg                        Untitled-9.jpg
                   บอแรกซ์                                                                  สารเคมี
                - เครื่องเทศ
                - สารกลิ่นผลไม้
               - สารรสหวานประเภทน้ำตาลเทียม ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล
               - ผงชูรสเป็นสารประกอบที่เรียกว่ามอนอโซเดียมกลูเมต  ถ้าเป็นผงชูรสปลอมจะใส่สารโซเดียม
เมตาฟอสเฟตและบอแรกซ์  ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมาก  
    3. สีผสมอาหาร  เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น  มีทั้งสีจากธรรมชาติซึ่ง
เป็นสีที่ได้จากพืชและสัตว์ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต    เช่    สีดำจากถ่าน      สีแดงจากครั่ง       เป็นต้น
และ สีสังเคราะหส่วนมากจะเป็นสารพิษที่ร้ายแรงต่อร่างกาย มักมีตะกั่วและโครเมียมอยู่ เช่น สีย้อมผ้า


           สารพิษปนเปื้อนในอาหารที่ควรทราบมีดังนี้

                1.ดินประสิว (โพแทกเซียมไนเตรต)มีสูตรเคมีKMO3 นิยมใส่ในอาหารประเภทเนื้อหมู  เนื้อปลา
เนื้อวัว    ทำเนื้อเปื่อย  สีสวย  รสดี  และเก็บไว้ได้นาน  ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน(nitrosamine)ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง

                2.ปรอท  พิษของสารปรอทที่ไปสะสมในสมอง  ทำให้ประสาทหลอน  ความจำเสื่อม  เป็นอัมพาต
เด็กในครรภ์ประสาทจะถูกทำลาย  นิ้วมือหงิกงอ  ปัญญาอ่อน  และอาจตายได้  อาการเช่นนี้เรียกว่า
โรคมินามาตะ

                3.ตะกั่ว  พิษตะกั่วเกิดจากสีและไอเสียรถยนต์  จะทำลายเซลล์สมอง  ทำลายเม็ดเลือดแดง  ปวดศีรษะ
และอาจตายได้

                4.โครเมียม  สารประกอบของโครเมียมใช้ทำสีย้อม  พิษของโคเมียมเป็นอันตรายต่อผิวหนังและปอด
                5.แคดเมียม  มีพิษต่อปอดและไต  ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต
                6.สารหนุ  ทำให้เกิดโรคไข้ดำ  มีอาการเจียน  ปวดท้องรุนแรง  เป็นตะคริว
                7.สารกันบูด  สารที่นิยมใช้เป็นสารกันบูด  ได้แก่  กรดซาลิวาลิก  กรอดบอริก  และดวเดียมเบนโซเอต
                8.น้ำประสานทองหรือบอแร็กซ์  มีชื่อทางเคมีว่า  “โซเดียมบอเรต (sodium borate)”  ชาวบ้าน  เรียกว่า  “ผงกรอบ”  หรือคนจีนเรียกว่า  “เพ่งแช”  ใช้ใส่ลูกชิ้น  แป้งกรอบ  ทำให้ไตอักเสบได้
                9.ผงเนื้อนุ่ม  คือบอแรกซ์ผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต  สารนี้ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้  ทำให้เกิดอาการคล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  มีพิษต่อไตและเซลล์ต่างๆของร่างกาย
                10.น้ำตาลเทียม  คือสารให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล  เช่น
-       ซอร์บิทอล  หวานกว่าน้ำตาลทราย 2 ใน 3 เท่า
-       ไซคลาเมต  หวานกว่าน้ำตาลทราย 30 เท่า
-       แอสพาร์เทม  หวานกว่าน้ำตาลทราย 180 เท่า  ใช้แทนน้ำตาลในเครื่องดื่ม  ลูกกวาด  หมากฝรั่ง
-       ขัณฑสกรหรือแช็กคาริน  หวานกว่าน้ำตาลทราย 550 เท่า  เป็นน้ำตาลเทียม  ถ้ารับประทานมากจะเกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ชัก  ใช้แทนน้ำตาลทรายสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและผู้ที่อ้วนมาก


  อาหารบางชนิดเป็นพิษต่อผู้บริโภค  ซึ่งอาการที่เกิดจากสารพิษแต่ละชนิดจำแนกได้ 2 ลักษณะ  คือ
1.  อาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน  คือการเกิดอาการเป็นพิษภายหลังจากรับประทานอาหารนั้นๆเข้าไปไม่
นานนักภายในเวลา 2-6 ชั่วโมง  ลักษณะอาการที่พบ  คือ  ท้องเสียรุนแรง  คลื่นไส้  หายใจไม่ออก  เป็นอัมพาตในเวลารวดเร็ว  อาจถึงตายได้

2.  อาการเป็นพิษแบบเรื้อรัง  คือการเกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษปะปนอยู่ในปริมาณน้อยและมีการสะสมอย่างต่อเนื่องมากขึ้นทุกวันจนมีปริมาณสารพิษในร่างกายมากขึ้น  อาการจึงจะแสดงออกมาตามลักษณะอาการของพิษและชนิดของสาร

แนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร  มีดังนี้

1.  เลือกซื้ออาหารที่มั่นใจว่าไม่มีสารพิษเจือปน
2.  แช่ผักและผลไม้ในสารละลายน้ำส้มสายชูหรือสารละลายด่างทับทิมก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง
3.  เลือกรับประทานอาหารที่ใช้สีปรุงแต่งจากธรรมชาติ
4.  เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อ       รับรองความปลอดภัยของอาหารนั้นๆ

           การรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน

        ในแต่ละวันร่างกายของมนุษย์เราต้องการพลังงานจากอาหารเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆในปริมาณที่แตกต่างกัน  ซึ่งพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมแต่ละอย่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเพศ  วัย  สภาพร่างกาย  และกิจกรรม
ของแต่ละบุคคล  ดังนี้

        1.  ความแตกต่างของเพศ  เพศชายต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพศหญิง  เนื่องจากการทำกิจกรรมและการใช้พลังงานของเพศชายมากกว่าเพศหญิง
        2.  ความแตกต่างของวัย  วัยต่างกันต้องการปริมาณอาหารที่แตกต่างกัน  เนื่องจากการเจริญเติบโตและการ
ทำกิจกรรมต่างกัน

        3.  ความแตกต่างของสภาพร่างกาย  หญิงในระยะตั้งครรภ์หรือระยะให้นมบุตร  ต้องการสารอาหารทุก
ประเภทในปริมาณสูงกว่าปกติ  โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส  เป็นแร่ธาตุที่ต้องการในปริมาณสูงเพราะสารอาหารที่รีบประทานเข้าไปส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และการผลิต
น้ำนม



                                                     b_penguin_blue.gifb_penguin_red.gif                   b_penguin_blue.gifb_penguin_red_1.gif    

                      สิ่งเป็นพิษในอาหาร

    นักเรียนคงเคยได้ยินหรือได้อ่านข่าวพบเกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือเสียชวิตของคนอันเนื่องมาจากการกิกนอาหารมาบ้างแล้ว  นักเรียนพอจะบอกได้หรือไม่ว่ามีอะไรอยู่ในอาหารเหล่านั้น  เป็นที่ทราบโดยทั่วไปแล้วว่า  อาหารเกือบทุกชนิดที่เรากินอยู่ทุกวันนี้มีสิ่งต่าง ๆ เจือปนอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งบ่อยครั้งที่สิ่งเจือปนเหล่านี้เป็นพิษทำให้ผู้บริโภคเกิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

รูป   อาหารเกือบทุกชนิดที่เรากินอยู่ทุกวันนี้มีสิ่งต่าง ๆเจือปนอยู่มากมาย เมื่อกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้

อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกินอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่มี  2  ลักษณะ  คือ

                             1.อาการเป็นพิษเฉียบพลัน  คือ  การเกิดอาการเป็นพิษหลังจากการกินอาหารนั้น ๆ เข้าไปไม่นานนัก  ภายใน  2 - 6 ชั่วโมง  เช่น  การกินอาหารที่มีแบคทีเรียปะปนอยู่จำนวนมาก  ก็จะเกิดการปวดท้องและท้องเสียองย่างรุนแรง  เป็นต้น
                              2.อาการเป็นพิษเรื้อรัง   คือ  เกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากการกินอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่ในปริมาณน้อย  และเมื่อกินเป็นเวลานาน  สิ่งเป็นพิษก็จะค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้นทุกวัน  อาจเป็นเดือนหรือปี  เช่น  การกินอาหารที่มีปรอทปะปนอยู่  เมื่อกินเป็นเวลานานปรอทก็จะสะสมในร่างกายมากขึ้น  จนถึงระดับหนึ่งอาการเป็นพิษก็จะปรากฏให้เห็น  เป็นต้น
                              สิ่งเป็นพิษที่เจือปนอยู่ในอาหารมาจากไหน  สิ่งเป็นพิษเหล่านี้นอกจากจะมีโทษต่อร่างกายแล้ว  ยังมีประโยชน์หรือไม่  นักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดต่อไป

                                 แหล่งที่มาของสิ่งเป็นพิษในอาหาร

สิ่งเป็นพิษที่เจือปนอยู่ในอาหารชนิดต่าง ๆ มีแหล่งที่มาสำคัญ  2  แหล่ง  คือ  สิ่งเป็นพิษในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  และสิ่งเป็นพิษในอาหารที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์
                             1.สิ่งเป็นพิษในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
                              สิ่งเป็นพิษในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินี้อาจมีอยู่ในพืชผักหรือสัตว์บางชนิดหรืออาจเกิดจากจุลินทรีย์บางชนิด  หรืออาจเกิดจากพยาธิต่าง ๆ ที่ปะปนอยู่ในอาหาร  เมื่อเรากินอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเหล่านี้ปะปนอยู่ก็จะทำให้เกิดอาการเป็นพิษในลักษณะต่าง ๆ กันได้  โดยอาจเกิดอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้
                              1.1สิ่งเป็นพิษที่อยู่ในพืชผักและสัตว์บางชนิด
                               พืชผักหรือสัตว์บางชนิดมีสิ่งเป็นพิษอยู่ภายในตามธรรมชาติของมัน  เมื่อเรานำมาประกอบเป็นอาหารและกินเข้าไป  ก็จะทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้
                               พืชผักที่มักพบว่า   เมื่อนำมาประกอบเป็นอาหารและกินเข้าไปแล้วเกิดอาการเป็นพิษ  เช่น  เห็ดบางชนิด  ( เช่น เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน  เห็ดขิง  เห็ดข่า  เห็ดน้ำหมาก )  ผักขี้หนอน  ซึ่งมีลักษณะคล้ายผักหวาน  มันสัมปะหลังดิบ  หัวกลอย  ลูกเนียง  ลูกลำโพง  เป็นต้น  พืชผักเหล่านี้เมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเป็นพิษต่าง ๆ กัน  เช่น  เห็ดพิษ  เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  วิงเวียนศรีษะ  ปวดท้องอย่างรุนแรง  ท้องเดิน  มีไข้  และอาจมีอาการเพ้อฝันด้วย  หัวมันสำปะหลังดิบ  เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการมึนซึม  หน้าเขียว  เล็บเขียว  หายใจขัด  หอบ  หมดสติ  และอาจถึงตายได้ถ้ารับการรักษาไม่ทันท่วงที



รูป   พืชผักบางชนิดที่มีสิ่งเป็นพิษอยู่ภายในเมื่อกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้

                          ส่วนสัตว์ที่กินเข้าไปแล้ทำให้เกิดอาการเป็นพิษ  เช่น  ปลาปักเป้า  แมงดาทะเลหอยทาก  หอยโข่ง  คางคก  เป็นต้น  สัตว์เหล่านี้เมื่อนำมาประกอบเป็นอาหารและกินเข้าไปจะเกิดอาการเป็นพิษในลักษณะต่าง ๆ กัน  เช่น ปลาปักเป้า  เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการชาที่ริมฝีปาก  ปลายนิ้ว  แขนขา  กล้ามเนื้อไม่มีแรง  คลื่นไส้  อาเจียน  หายใจขัด  และอาจถึงตายได้  หอยบางชนิดเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการชาที่ปาก  หน้า  กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต  หากได้รับปริมาณมากจะเสียชีวิตภายใน  12  ชั่วโมง  เนื่องจากระบบหายใจขัดข้อง  เป็นต้น


รูป  สัตว์บางชนิดที่มีสิ่งเป็นพิษอยู่ภายในเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเป็นพิษได้
                            1.2.สิ่งเป็นพิษที่เกิดจากจุลินทรีย์บางชนิด

                             จุลินทรีย์บางชนิด  เช่น  แบคทีเรีย  ไวรัส  ยีสต์  รา  เป็นต้น  มักติดมากับผักที่รดด้วยน้ำสกปก  ปลาที่อยู่ในบ่อน้ำสกปก  ผู้ปรุงไม่ล้างมือให้สะอาด  หรือแมลงวันพาเชื้อโรคมาเกาะอาหาร   เมื่อกินอาหารที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้ปะปนอยู่จะทำให้เกิดอาการและโรคต่าง ๆ ได้  เช่น  แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์  โรคบิด  วัณโรค  ไวรัสทำให้เกิดโรคตับอักเสบ  ไขสันหลังอักเสบ  ไข้เหลือง  โรคท้องร่วงในเด็ก  เป็นต้น


รูป    อาหารที่มักมีจุลินทรีย์ปะปนอยู่ และการปรุงอาหารที่ไม่สะอาดทำให้จุลินทรีย์ปะปนในอาหารได้

                            นอกจากนี้สิ่งเป็นพิษยังอาจเกิดจากสารพิษที่เป็นผลผลิตจากจุลินทรีย์บางชนิด  เช่น  อะฟลาทอกซิน  ซิราลีโนน  พาทูลิน  เป็นต้น  สารพิษที่สำคัญและเป็นปัญหาสำคัญมากที่สุด  คือ  อะฟลาทอกซิน  ซึ่งเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง  ชื่อ  แอสเพอร์จิลลัส  ฟลาวัส  ( Aspergillus  flavus )  สารพิษชนิดนี้พบมากในถั่วลิสง  ข้าวโพด  งา  เครื่องเทศ  และอาหารแห้งอื่น ๆ เช่น  กุ้งแห้ง  พริกแห้ง  หอม  กระเทียม  เป็นต้น  และสารชนิดนี้ทนต่อความร้อน  โดยไม่อาจทำลายได้โดยความร้อน  เมื่อเรากินอาหารชนิดที่มีสารพิษปะปนอยู่  จะทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน  เช่น  มีไข้สูง  คลื่นไส้  อาเจียน  ไม่รู้สึกตัว  สมองและตับถูกทำลาย  และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 - 3 วัน  และอาการเรื้อรัง  ได้แก่  มะเร็งในตับซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีสารพิษสะสมอยู่ในเวลานาน



รูป  อาหารที่มีสารพิษอะฟลาทอกซินปะปนอยู่

                             1.3.สิ่งเป็นพิษที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ
                              พยาธิชนิดต่าง ๆ เช่น  พยาธิไส้เดือน  พยาธิตัวตืด  พยาธิใบไม้ตับ  เป็นต้น  เมื่อเรากินอาหารที่มีพยาธิต่าง ๆ เหล่านี้ปะปนอยู่  โดยไม่ทำให้สุก  ก็จะทำให้เกิดอาการหรือโรคต่าง ๆ ได้

 
รูป   พยาธิชนิดต่าง  ๆ ที่อาจปะปนอยู่ในอาหาร
                            โดยปกติ พยาธิที่ปะปนอยู่ในอาหารอาจไม่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษอย่างเฉียบพลันได้แต่ก็ทำให้เกิดอาการเป็นพิษเรื้อรังได้  โดยการทำลายสุขภาพทีละน้อยและเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ในที่สุด  เช่น  ตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับที่ปะปนอยู่ในเนื้อดิบ  เช่น  ก้อยปลา  ปลาร้า  เมื่อกินเข้าไปแล้วพยาธิจะไปเจริญเติบโตในร่างกาย  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องขึ้น  ท้องเฟ้อ  อาหารไม่ย่อย  นาน ๆ เข้าร่างกายจะซูบผอม  ตับโตแข็ง  และตายในที่สุด  จากรายงานพบว่า  มีประชากรจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิอื่น ๆ

การป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอย
การป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่นั้นทำได้ไม่อยากนักโดยระมัดระวังเรื่องการกินอาหาร  ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.อย่ากินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นอันขาด  ควรกินอาหารที่ทำให้สุกใหม่ ๆ และยังร้อนหรืออาหารที่เก็บไว้อย่างมิดชิดในภาชนะที่สะอาด
2.ไม่ควรกินอาหารที่สงสัยว่าเสียหรือปรุงทิ้งไว้นานแล้ว  ควรสอบถามให้แน่ชัดก่อนที่จะกิน
3.หลีกเลี่ยงการซื้อและการกินอาหารกระป๋องมีลักษณะผิดปกติ  เช่น  บุบหรือบวม  ทั้งนี้อาจมีพิษเกิดขึ้นในกระป๋อง  ทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้
4.ควรเลือกซื้ออาหารที่มีการกำหนดอายุของอาหารไว้ที่ภาชนะ  และควรกินอาหารนั้นให้หมดก่อนวันหมดอายุ  ไม่ควรกินอาหารที่เลยวันที่กำหนด
5.ไม่ควรกินอาหารที่ขึ้นราและอาหารที่มีกลิ่นและรสผิดไปจากปกติอันเนื่องมาจากการเน่าเสีย
นอกจากนี้  การล้างมือให้ให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร  การไม่ใช้มือหยิบอาหารปรุงสุกแล้ว  โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์  การดูแลสถานที่  สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ประกอบอาหารให้สะอาดอยู่เสมอ  ก็เป็นวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งเป็นพิษในอาหารได้เช่นเดียวกัน